การปฏิบัติวิปัสสนา
สอนโดยท่านอาจารย์โกเอ็นก้า
กรรมฐาน
ในแนวทางของท่านซายาจี อูบาขิ่น
อภิธานศัพท์ภาษาบาลี
อาจาริย
อาจารย์ ผู้ชี้ทาง
อธิษฐาน
การตั้งความปรารถนา การตั้งใจมุ่งผลอย่างแรงกล้า หนึ่งใน บารมีทั้งสิบ
อกุศลา
บาป ความไม่ดี ตรงข้ามกับ กุศลา
อานนท์
ปิติ สุข
อานาปาน
ลมหายใจเข้าออก อานาปานสติ การรับรู้ลมหายใจเข้าออก
อนัตตา
ไม่มีอัตตาตัวตน ไร้แก่นสาร หนึ่งในไตรลักษณ์ ดู ลักษณะ
อนิจจา
ไม่ถาวร ชั่วคราว เปลี่ยนแปลง หนึ่งในไตรลักษณ์ ดู ลักษณะ
อรหันต์
พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ ดูพระพุทธเจ้า
อริยะ
ผู้เจริญ ผู้ประเสริฐ ผู้ไกลจากกิเลส สามารถทำจิตให้ผ่องแผ้วถึงขั้นได้สัมผัสสัจธรรมอันสูงสุดแล้ว (นิพพาน) อริยะ มี 4 ระดับ ตั้งแต่ พระโสดาบัน ผู้แรกถึงกระแสธรรมแห่งพระนิพพาน จะเกิดใหม่อีกไม่เกินเจ็ดชาติ จนถึง พระอรหันต์ ผู้ซึ่งจะไม่กลับมาเกิดใหม่
อริยอัฏฐังคิกมัคค์
อริยมรรคมีองค์แปด คือสัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน ดู มรรค
อริยสัจ
ความจริงอันสูงสุด อริยสัจ 4 คือ คำสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐ ที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ ดู สัจจะ
อสุภะ
ไม่บริสุทธิ์ ไม่สวย ไม่งาม ตรงข้าม สุภะ บริสุทธิ์ งดงาม
อสุตวา
ผู้ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ผู้เว้นจาการเรียนรู้ความจริง ผู้ขาด สุตมยปัญญา จึงไม่สามารถก้าวไปสู่ความหลุดพ้นได้ ตรงข้ามกับ สุตวา
อวิชชา
ความไม่รู้ คือ ความไม่รู้ในอริยสัจธรรม เป็นเหตุข้อแรกที่ก่อให้เกิดชาติในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมายถึงการเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน เป็นหนึ่งในกิเลสที่สำคัญ 3 ประการ คือร่วมกับราคะ และ โทสะซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง คำพ้องความหมายโมหะ
อายตนะ
sphere, region, esp. the six spheres of perception (salayatana), i.e., the five physical senses plus the mind, and their corresponding objects, namely:
eye (cakkhu) and visual objects (rūpa)
ear (sota) and sound (sadda)
nose (ghana) and odour (gandha)
tongue (jivha) and taste (rasa)
body (kaya) and touch (photthabba)
mind (mano) and objects of mind, i.e., thoughts of all kinds (dhamma)
These are also called the six faculties. See indriya
พละ
กำลัง พลังทั้งห้า ได้แก่ ความเชื่อมั่น(ศรัทธา) ความพยายาม (วิริยะ) ความระลึกรู้ (สติ) ความตั้งใจมั่น(สมาธิ), ความรอบรู้(ปัญญา) รวมเรียกว่าพละ 5 ดู อินทรีย์
ภังคะ
การแตก การทำลาย ขั้นตอนสำคัญในการปฏิบัติวิปัสสนา คือ ประสบการณ์การสลายไปของรูปนาม กลายเป็นความสั่นสะเทือนเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างต่อเนื่อง
ภว
กระบวนการของการเกิด การมี การเป็นภวจักร: กงล้อแห่งการดำรงอยู่ต่อไป ดู จักร
ภาวนา
การเจริญ การอบรม หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ในทางปฏิบัติ ภาวนาแบ่งเป็น 2 แบบ คือการอบรมจิตใจให้สงบ (สมถภาวนา) ซึ่งเป็นการพัฒนาสมาธิของจิตใจ (สมาธิ) และการสังเตดูความเป็นจริงภายใน (วิปัสสนาภาวนา) ซึ่งเป็นการพัฒนาปัญญา (ปัญญฺญา) การทำสมถกรรมฐานจะนำไปสู่สภาวะของ
ภาวนามยปัญญา
ปัญญาที่พัฒนาจากประสบการณ์ส่วนตัวโดยตรง ดู ปัญญา
ภะวะตุ สัพพะ มังคะลัง
ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข เป็นการแสดงความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
ภิกขุ
ภิกษุ พระสงฆ์ นักปฏิบัติ สำหรับผู้หญิง ภิกษุณี แม่ชี
โพธิ์
ตรัสรู้
โพธิสัตว์
ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ใช้เรียกพระสมณโคดมพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้
โพชฌงค์
องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ คุณสมบัติที่ช่วยให้บรรลุการตรัสรู้ มี 7 อย่างคือ ความระลึกได้ (สติ) ความเลือกเฟ้นธรรม (ธรรมวิจยะวิริยะ) ความอิ่มใจ ( ปิติ) ความสงบกายใจ (ปัสสัทธิ) ความมีจิตตั้งมั่น (สมาธิ) และความมีใจเป็นกลาง (อุเบกขา)
พรหม
เทพบนสวรรค์ชั้นสูงสุด ตามศาสนาฮินดูพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด เป็นผู้สร้าง เป็นพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ แม้พรหมจะเป็นเทพชั้นสูงสุด แต่ในศาสนาพุทธนั้น พรหมยังต้องเวียนว่ายตายเกิด เพราะยังมีกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ อยู่
พรหมวิหาร
พรหม มีสภาวะจิตอันประเสริฐ อันประกอบด้วยคุณธรรมอันบริสุทธิ์ 4 ประการ คือ ความรักอย่างแท้จริง ปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข (เมตตา) ความเห็นอกเห็นใจ ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ (กรุณา) ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข (มุทิตา) ความวางใจเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่างที่พบเจอ (อุเบกขา) คุณธรรมทั้ง 4 ประการนี้สามารถปลูกฝังให้เกิดขึ้นในจิตได้โดยการฝึกสมาธิ
พรหมจรรย์
ชีวิตที่บริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ดั่งพรหม
พราหมณ์
วรรณะนักบวชในศาสนาฮินดู ในศาสนาฮินดู พราหมณ์ยังต้องอาศัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นพระพรหมเพื่อช่วยให้ถึงความหลุดพ้น ซึ่งในแง่นี้พราหมณ์แตกต่างจากสมณะพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า พราหมณ์ที่แท้จริงนั้น คือผู้ที่ชำระจิตตนเองให้บริสุทธิ์ จนสามารถเป็นพระอรหันต์ได้
พุทธะ
enlightened person; one who has discovered the way to liberation, has practiced it, and has reached the goal by his own efforts. There are two types of Buddha:
- pacceka-buddha, "lone" or "silent" Buddha, who is unable to teach the way he has found to others
- sammā-sambuddha, "full" or "perfect" Buddha, who is able to teach others
จักร
wheel, Bhava-cakka,, wheel of continuing existence (ie, process of suffering), equivalent to samsara. Dhamma-cakka, the wheel of Dhamma (ie, the teaching or process of liberation). Bhava-cakka corresponds to the Chain of Conditioned Arising in its usual order. Dhamma-cakka corresponds to the chain in reverse order, leading not to the multiplication but to the eradication of suffering.
จินตามยปัญญา
ปัญญาที่ได้จากการคิดพิจารณา ดู ปัญญา
จิต
จิตใจ จิตตานุปัสสนา การสังเกตจิต ดู สติปัฏฐาน
ทาน
การให้ การแบ่งปัน การเสียสละ เป็นหนึ่งในบารมีสิบประการ
ธรรม
สภาพที่ทรงไว้ สิ่งทีจิตรู้ ธรรมชาติ กฎธรรมชาติ กฎแห่งการหลุดพ้น คำสอนของผู้รู้แจ้ง ธัมมานุปัสสนา การสังเกตธรรมารมณ์ ดู สติปัฏฐาน
ธาตุ
องค์ประกอบสำคัญเบื้องต้นของการรวมกันเป็นรูป (ดู
โทสะ
ความเกลียดชัง หนึ่งในกิเลสสำคัญทั้ง 3 ที่เกิดขึ้นในจิต ร่วมกับ ราคะ และ โมหะ
ทุกขะ
ความทุกข์ ความไม่พอใจ หนึ่งในไตรลักษณ์ (ดู ลักษณะ) อริยสัจประการแรก (ดู สัจจะ)
โคตมะ
ราชสกุลวงศ์ของพระพุทธเจ้า
หินยาน
แปลตรงตัวว่า ยานลำเล็ก คำที่ใช้สำหรับพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยสาวกของนิกายอื่น ความหมายแฝงดูหมิ่น
อินทรีย์
ความสามารถ ในที่นี้หมายถึง การรับรู้ทั้ง 6 (ดู อายตนะ) และพละทั้ง 5 (ดูพละ)
ชาติ
การเกิด การดำรงอยู่
ฌาน
สภาวะที่จิตสงบนิ่งจากการเพ่งอารมณ์ ฌานมีทั้งหมด 8 ขั้น สามารถบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติ สมาธิ หรือ สมถภาวนา (ดู ภาวนา) เป็นการปลูกฝังทำให้เกิดความสงบสุข แต่ไม่สามารถขจัดกิเลสที่ฝังรากลึกในจิต
กลาปะ/อัฏฐะกลาปะ
หน่วยของสสารที่เล็กที่สุดแบ่งไม่ได้ ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่และคุณลักษณะของธาตุนั้น ดู มหาภูฏ
กัลยณมิตร
มิตรดี มิตรแท้ ผู้ที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ผู้ที่นำทางบุคคลไปสู่การหลุดพ้น
กรรม
การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ได้แก่กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตของตน ดู สังขาร
กาย
ร่างกาย กายานุปัสสนา การสังเกตกาย ดู สติปัฏฐาน
ขันธ์
หมวด หมู่ กอง มนุษย์ประกอบด้วยขันธ์ 5 ขันธ์ ได้แก่ สสาร (รูป),สภาพรับรู้ (วิญญาณ), ความจำได้หมายรู้ (สัญญา), ความรู้สึก (
กิเลส
สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง มี 3 อย่างคือ โลภะ โทสะ และโมหะ อนุสัยกิเลส กิเลสที่แฝงอยู่ สิ่งเจือปนที่หลับใหลอยู่ในจิตไร้สำนึก
กุศล
สิ่งที่ดีงาม บุญ ตรงข้ามกับ อกุศล
ลักษณะ
เครื่องหมาย ลักษณะเฉพาะ ไตรลักษณ์(ติลักขณา) คือ อนิจจา ทุกข์ อนัตตา อนิจจา และทุกข์ เป็นเรื่องปกติของปรากฏการณ์ที่มีเงื่อนไขทั้งหมด ส่วนอนัตตาเป็นเรื่องปกติของปรากฏการณ์ทั้งหมดที่มีเงื่อนไขและไม่มีเงื่อนไข
โลภะ
ความอยาก คำพ้องความหมายของ ราคะ
โลกา
มหภาค กล่าวคือ จักรวาล โลก ระนาบแห่งการดำรงอยู่ ส่วนพิภพเล็ก คือโครงสร้างของกายและจิต โลกธรรม ความแปรปรวนทางโลก การขึ้นๆ ลงๆ ของชีวิตที่ทุกคนต้องเจอ คือ ได้หรือเสีย ชนะหรือแพ้ สรรเสริญหรือตำหนิ ความสุขหรือความเจ็บปวด
มรรค
path.
Ariya atthangika magga, the Noble Eightfold Path leading to liberation from suffering. It is divided into three stages or trainings:
sīla, morality, purity of vocal and physical actions:
- sammā-vācā, right speech
- sammā-kammanta, right action
- sammā-ājīvā, right livelihood
- sammā-vāyama, right effort
- sammā-sati, right awareness
- sammā-samādhi, right concentration
- sammā-saṅkappa, right thought
- sammā-diṭṭhi, right view
มหาภูต
the four elements, of which all matter is composed:
- pathavī-dhatu--earth element (weight)
- āpo-dhatu--water element (cohesion)
- tejo-dhatu--fire element (temperature)
- vāyo-dhatu--air element (motion)
มหายาน
แปลตรงตัวว่า "ยานพาหนะลำใหญ่" เป็นพุทธศาสนนิกายที่พัฒนาขึ้นในอินเดียไม่กี่ศตวรรษหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน และแผ่ขยายไปทางเหนือ ไปยังทิเบต จีน เวียดนาม มองโกเลีย เกาหลี และญี่ปุ่น
มงคล
ความผาสุก ความสุข ความเจริญ
มาร
ผู้ฆ่า ผู้ทำลาย ผู้กีดกันบุญกุศล
เมตตา
ความรักอย่างไม่เห็นแก่ตัว และความปรารถนาให้ผู้อื่นได้สุข เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของจิตที่บริสุทธิ์ (ดู พรหมวิหาร) หนึ่งใน บารมี เมตตาภาวนา การปลูกฝัง เมตตา อย่างเป็นระบบ โดยใช้การทำสมาธิ
โมหะ
ความไม่รู้ ความหลง หนึ่งในกิเลสสำคัญทั้ง 3 ที่เกิดขึ้นในจิต ร่วมกับ ราคะ และ โทสะ คำพ้องความหมายของ อวิชชา
นาม
จิตใจ นามรูป จิตและกาย ความสืบต่อของจิตและกาย นามรูปปริเฉท การแยกจิตออกจากกายที่เกิดขึ้นตอนตาย หรือจากประสบการณ์ของ นิพพาน
นิพพาน
การดับกิเลสแห่งกองทุกข์ อิสระจากความทุกข์ ความเป็นจริงขั้นสูงสุด ไม่มีกฎแห่งเงื่อนไขและปัจจัย
นิโรธ
ความดับทุกข์ ความสำรอกออก สลัดทิ้ง การดับสมุทัยคือตัวตัณหาให้สิ้นไปด้วยการเจริญมรรคจน คำพ้องความหมายของ นิพพาน นิโรธสัจจะ ความจริงแห่งการดับทุกข์ จัดเป็นอริยสัจข้อที่ 3 ในอริยสัจ 4 ดู สัจจะ
นิวรณ์
เครื่องกั้น สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี 5 ประการคือ ความอยาก ความพอใจ (กามฉันทะ) ความคิดร้ายขัดเคืองใจ(พยาบาท) ความหดหู่เซื่องซึม (ถีนมิทธะ) ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ( อุทธัจจกุกกุจจะ) และความลังเลสงสัย (วิจิกิจฉา)
โอฬาร
หยาบ ตรงข้ามกับ สุขุม
บาลี
บรรทัด ข้อความ ตำรา ที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า ภาษาคำสอนของพระพุทธเจ้า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และโบราณคดีบ่งชี้ว่า ภาษานี้เป็นภาษาที่พูดกันจริงในอินเดียตอนเหนือ ในเวลาหรือใกล้เวลาที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ต่อมามีการแปลข้อความเป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาทางวรรณกรรมเท่านั้น
ปัญญา
wisdom. The third of the three trainings by which the Noble Eightfold Path is practised (see magga). There are three kinds of wisdom: received wisdom (sutta-mayā paññā), intellectual wisdom (cintā-mayā paññā), and experiential wisdom (bhāvanā-mayā paññā). Of these, only the last can totally purify the mind; it is cultivated by the practice of vipassana-bhāvanā. Wisdom is one of the five mental strengths (see bala), the seven factors of enlightenment (see bojjhanga), and the parami.
บารมี
คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด เพื่อละลายอัตตาและถึงซึ่งการหลุดพ้น บารมี 10 ประการ ได้แก่ การสละให้ (ทาน) การรักษาศีล (ศีล) การออกจากกาม (เนกขัมมะ) ความรู้ ( ปัญญา) ความเพียร (วิริยะ) ความอดทนอดกลั้น (ขันติ) ความตั้งใจจริง ทำจริง (สัจจะ), ความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า (< i>อธิษฐาน) ความรักที่ไม่เห็นแก่ตัว (เมตตา) และการวางใจเป็นกลาง (อุเบกขา)
ปฏิจจสมุปบาท
ห่วงโซ่แห่งการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันอย่างมีเงื่อนไขมีปัจจัย เป็นกระบวนการที่เริ่มต้นด้วยอวิชชา โดยที่ทำให้ชีวิตต้องเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์
บูชา
แสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะ ยกย่องเทอดทูนด้วยความเลื่อมใส เป็นพิธีกรรมทางศาสนา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าการ บูชา ที่ถูกต้อง คือการปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ท่านอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ก้าวแรกจนถึงเป้าหมายสุดท้าย
บุญ
ความดี กุศล คุณธรรมที่ทำให้เป็นสุขในปัจจุบันและอนาคต สำหรับฆราวาส บุญ ประกอบด้วย การทำบุญให้ทาน (ทาน) การดำเนินชีวิตอย่างมีศีลธรรม (ศีล) และการบำเพ็ญภาวนา ( ภาวนา)
ราคะ
ความอยาก หนึ่งในกิเลสสำคัญทั้งสามที่เกิดขึ้นในจิต รวมทั้ง โทสะ และ โมหะ คำพ้องความหมายของ โลภะ
รัตนะ
อัญมณีไตรรัตน์ : พระรัตนตรัย หรือแก้วสามประการ คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
รูป
- matter
- visual object
สัจจะ
truth. The Four Noble truths, ariya-sacca are:
- the truth of suffering (dukkha-sacca)
- the truth of the origin of suffering (samudaya-sacca)
- the truth of the cessation of suffering (nirodha-sacca)
- the truth of the path leading to the cessation of suffering (magga-sacca)
สาธุ
well done; well said. An expression of agreement or approval.
สมาธิ
concentration, control of one's own mind. The second of the three trainings by which the Noble Eightfold Path is practiced (see magga). When cultivated as an end in itself, it leads to the attainment of the states of mental absorption (jhana), but not to total liberation of the mind. The three types of samādhi are:
- khanika samādhi, momentary concentration, concentration sustained from moment to moment
- upacara samādhi, "neighbourhood" concentration of a level approaching a state of absorption
- appana samādhi, attainment concentration, a state of mental absorption (jhana)
สมณะ
recluse, wanderer, mendicant. One who has left the life of a householder. While a brahamana relies on a deity to "save" or liberate him, a samana seeks liberation by his own efforts. Hence the term can be applied to a Buddha and to his followers who have adopted the monastic life, but it also includes recluses who are not followers of the Buddha. Samana Gotama ("Gotama the recluse") was the common form of address used for the Buddha by those who were not his followers.
สมถะ
เงียบสงบ สมถภาวนา การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ ตรงกันกับ สมาธิ ดู ภาวนา
สัมปชาโน
ความเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทั้งหมดทางกายและใจ คือ การรู้แจ้งถึงธรรมชาติที่ไม่เที่ยงในในระดับของเวทนา
สังสารวัฏ
การเวียนว่ายตายเกิด โลกแห่งเงื่อนไขและปัจจัย โลกแห่งความทุกข์
สมุทยะ
เกิดขึ้น กำเนิด สมุทยะ-ธรรมะ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น สมุทยสัจจะ สัจธรรมแห่งทุกข์
สังขารา
การปรุงแต่งของจิต เจตนา ปฏิกิริยาทางจิต เงื่อนไขของจิต หนึ่งในขันธ์ห้า (ขันธ์) ปัจจัยที่สองในห่วงโซ่แห่งการเกิดขึ้นอย่างมีเงื่อนไข (ปฏิจจสมุปบาท) สังขารา คือ กรรม การกระทำที่ให้ผลในอนาคต ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกำหนดชีวิตในอนาคตได้ด้วย
สังขารุเบกขา
ความเป็นกลางต่อ สังขาราขั้นตอนการปฏิบัติวิปัสสนาภายหลังประสบการณ์ของ ภังคะ ที่สิ่งเจือปนเก่า ๆ แฝงตัวอยู่ในจิตไร้สำนึก ลอยขึ้นถึงระดับพื้นผิวของจิตใจ และแสดงออกเป็นความรู้สึกทางกาย ด้วยการรักษาอุเบกขา (อุเบกขา) ที่มีต่อความรู้สึกเหล่านี้ ผู้ปฏิบัติจะไม่สร้าง สังขารา ใหม่ขึ้นมา และปล่อยให้สังขารเก่าๆ นี้ถูกกำจัดออกไปจากจิตได้
สัญญา
จาก สังยุตตนิกาย ความจำได้หมายรู้ในสิ่งที่เคยรับรู้ ความรู้อย่างมีเงื่อนไขเป็นหนึ่งในขันธ์ 5 (ขันธ์) ปกติแล้ว
สรณะ
ที่หลบภัย ที่พึ่ง ติสรณะ: ที่พึ่งสามประการ คือ สรณะในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
สติ
ความระลึกรู้ องค์ประกอบของอริยมรรคมีองค์แปด (ดู มรรค) เป็นหนึ่งในพละ 5 (ดู พละ) และหนึ่งในปัจจัย 7 ประการของการตรัสรู้ (ดู โพชฌงค์) อานาปานสติ การมีสติรู้ลมหายใจ
สติปัฏฐาน
the establishing of awareness. There are four interconnected aspects of satipaṭṭhāna:
- observation of body (kāyānupassanā)
- observation of sensations arising within the body (vedanānupassanā)
- observation of mind (cittānupassanā)
- observation of the contents of the mind (dhammānupassanā)
All four are included in the observation of sensations, since sensations are directly related to body as well as to mind. The Maha-Satipaṭṭhāna Suttanta (Digha Nikaya, 22) is the main primary source in which the theoretical basis for the practice of vipassana-bhāvanā is explained.
สัมปชัญญะ
ความระลึกรู้ด้วยปัญญา สติสัมปชัญญะ รู้ด้วยความเข้าใจในธรรมชาติที่ไม่เที่ยงของโครงสร้างกายและจิตอย่างครบถ้วน โดยวิธีสังเกตเวทนา
สิทธัตถะ
ผู้ที่ทำภารกิจของตนสำเร็จ พระนามส่วนตัวของพระพุทธเจ้า
ศีล
คุณธรรม การละเว้นจากการกระทำทางกายและทางวาจา อันก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่น สามข้อแรกในอริยมรรคมีองค์แปด (ดู มรรค) สำหรับฆราวาส ศีล ห้าที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
โสดาบัน
ผู้บรรลุถึงขั้นแรกแห่งพระนิพพานแล้ว และได้ประสบ นิพพาน ดู อริยะ
สุข
ความสุข ตรงข้ามกับ ทุกข์
สุขุม
ละเอียด ปราณีต ตรงข้ามกับ โอฬาร
สุตมยปัญญา
ปัญญาที่ได้จากการฟัง ดู ปัญญา
สุตวา
ได้รับคำสอน ผู้ได้ฟังสัจธรรมแล้ว คือเป็นผู้มีมี สุตมยปัญญาOpposite อสุตวา
พระสูตร
คำสอนของพระพุทธเจ้า หรือพระอัครสาวกองค์ใดองค์หนึ่ง
ตัณหา
แปลตรงตัวว่า กระหาย ทั้งความอยากและความเกลียดชัง พระพุทธองค์ทรงชี้ว่า ตันหา เป็นเหตุแห่งทุกข์ (สมุทยสัจจะ) ในพระธรรมเทศนาที่ได้เริ่มหมุนกงล้อแห่งธรรมเป็นครั้งแรก (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)
ตถาคต
แปลตรงตัวว่า ไปแล้ว ถึงแล้ว ผู้ที่เดินบนเส้นทางแห่งความเป็นจริงและได้บรรลุถึงความจริงอันสูงสุด คือ ผู้รู้แจ้ง เป็นพระนามที่พระพุทธเจ้ามักเรียกแทนตัวพระองค์
เถรวาท
แปลตรงตัวว่า คำสอนของพระเถระ คำสอนของพระพุทธเจ้าในรูปแบบที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในประเทศแถบเอเชียใต้ เช่น พม่า (ปัจจุบันเรียกว่าเมียนมาร์) ศรีลังกา ไทย ลาว และกัมพูชา เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นคำสอนที่เก่าแก่ที่สุด
ไตรลักษณ์
ดู ลักษณะ
พระไตรปิฎก
literally, "three baskets". The three collections of the teachings of the Buddha, namely:
- Vinaya-pitaka, the collection of monastic discipline
- Sutta-pitaka, the collection of discourses
- Abhidhamma-pitaka, the collection of the higher teaching, i.e., systematic philosophical exegesis of the Dhamma.
Sanskrit Tripitaka
ไตรรัตน์
ดู รัตนะ
อุทยะ
เกิดขึ้น อุทยัพยะ เกิดขึ้นแล้วดับ อนิจจัง (เช่นเดียวกับ อุทยวยะ) ความเข้าใจจากประสบการณ์ของความเป็นจริงนี้ เกิดขึ้นจากการสังเกตความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาภายในตัวเอง
อุปาทาน
ความยึดมั่น ถือมั่น
อุเบกขา
การวางใจเป็นกลาง สภาวะของจิตที่ปราศจากตัณหา ปฏิฆะ และอวิชชา หนึ่งในสี่หลักธรรมประจำใจเพื่อให้ดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์อย่างพรหม(ดู พรหมวิหาร) หนึ่งในเจ็ดปัจจัยของการตรัสรู้ (ดู โพชฌงค์) และ หนึ่งในบารมีสิบประการ
อุปทะ
การปรากฎขึ้น อุปทะวยะ เกิดขึ้นแล้วดับไป อุปทะวยะ ธัมมิโน มีธรรมชาติของการเกิดขึ้นแล้วดับไป
วยะ
การปรากฎขึ้น อุปทะวยะ เกิดขึ้นแล้วดับไป อุปทะวยะ ธัมมิโน มีธรรมชาติของการเกิดขึ้นแล้วดับไป
เวทนา
ความรู้สึกตัว เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า (ขันธ์) พระพุทธเจ้าตรัสว่าเวทนามีทั้งทางกายและทางจิต ดังนั้น ความสัมพันธ์ของโครงสร้างของกายและจิตทั้งหมด จึงสามารถศึกษาได้โดยการสังเกต เวทนา ในการเกิดขึ้นแห่งธรรมโดยการอาศัยปัจจัยสืบทอดกัน (ปฏิจจสมุปบาท) พระพุทธองค์ทรงอธิบายว่า ตันหา เป็นเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิกริยาต่อ เวทนา จากการเรียนรู้ที่จะสังเกต เวทนา อย่างเป็นกลาง ท่านสามารถหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาใหม่ ๆ และสามารถสัมผัสถึงความเป็นจริงของความไม่เที่ยง (อนิจจา)ได้โดยตรงในตัวเอง ประสบการณ์นี้จำเป็นต่อการพัฒนาการปลดเปลื้องออก ซึ่งนำไปสู่การหลุดพ้นของจิต
เวทนานุปัสสนา
การสังเกตความรู้สึกภายในร่างกาย ดู สติปัฏฐาน
วิญญาณ
ความรับรู้ เป็นหนึ่งในขันธ์ 5 ขันธ์
วิปัสสนา
วิปัสสนาญาณ เป็นการทำจิตให้ผ่องใส หยั่งรู้อย่างเฉพาะเจาะจงถึงความไม่เที่ยง ความทุกข์ และลักษณะที่ไม่มีอัตตาตัวตน ของโครงสร้างทางกายและจิต วิปัสสนาภาวนา การพัฒนาวิปัสสนาอย่างเป็นระบบ ผ่านวิธีการทำปฏิบัติ โดยการสังเกตความเป็นจริง จากการการสังเกตความรู้สึกภายในร่างกาย
วิเวก
ความสงัด ความปลีกออก
ยถาภูต
ตามที่เป็นอยู่ ตามความเป็นจริง ยถาภูตะญาณทัสสนะ ความรู้เห็นตามความเป็นจริง